ไม่มีการเชื่อมต่อใดที่ดีไปกว่าภาษาร่วม ซึ่งนั่นเป็นความจริงสำหรับเครื่องจักรในอุตสาหกรรม Internet of Things ยิ่งเครื่องจักรแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลได้ง่ายขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น VDW จึงได้พัฒนา umati (อินเทอร์เฟซเครื่องมือเครื่องจักรสากล) ร่วมกับ TRUMPF และพันธมิตรในโครงการอีก 16 ราย อินเทอร์เฟซสากลช่วยให้เครื่องจักรแปรรูปโลหะแผ่นและท่อโลหะรวมถึงระบบต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกับ ระบบนิเวศ IT เฉพาะของลูกค้าได้อย่างง่ายดาย ปลอดภัย และราบรื่น ซึ่งเป็นมาตรฐานไม่ใช่แค่ในเยอรมนี แต่สำหรับผู้ใช้ทั่วโลกในการใช้ประโยชน์จากศักยภาพใหม่ในช่วงเวลาของอุตสาหกรรม 4.0
โรงงานอัจฉริยะ - คืออะไร
โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) นั้นหมายถึงสภาพแวดล้อมในการผลิตที่ผู้คน เครื่องจักร การทำงานอัตโนมัติ และซอฟต์แวร์ทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ แนวคิดของโลกแห่งการผลิตเชิงอุตสาหกรรม 4.0 ในอุดมคติที่ทำให้บริษัทแปรรูปโลหะแผ่นจำนวนมากตกอยู่ภายใต้ความกดดัน เนื่องจากก่อนที่จะมีโรงงานที่มีประสิทธิภาพสูง ยืดหยุ่น และโปร่งใสที่ตรงตามมาตรฐานคุณภาพสูงสุด สิ่งแรกที่ส่วนใหญ่มักต้องทำคือการเก็บกวาดความยุ่งเหยิง เพราะเราไม่สามารถแปลง "ความยุ่งเหยิง" เป็นระบบดิจิทัลได้ เราช่วยคุณสร้างลำดับในการผลิตและก้าวไปสู่ขั้นตอนถัดไปในวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี: เครือข่ายที่สอดคล้องกันของการไหลของวัสดุ การไหลของข้อมูล การทำงานอัตโนมัติ และการปรับกระบวนการให้เหมาะสม

เครือข่ายดิจิทัลที่มีศักยภาพมหาศาลในการเพิ่มความยืดหยุ่นและผลผลิตผ่านการใช้คอมพิวเตอร์วางระบบของเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลถือเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั้นจะช่วยเชื่อมต่อส่วนประกอบต่างๆ ภายในการผลิตและสิ่งอื่นๆ เข้าด้วยกัน โรงงานแห่งอนาคตเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานอย่างยั่งยืนและลดขั้นตอนลงอย่างเห็นได้ชัด

โรงงานอัจฉริยะ มีข้อดีที่เป็นรูปธรรมอะไรบ้าง ด้วยการเชื่อมต่อเครือข่ายอัจฉริยะ การผลิตของคุณจะโปร่งใส ดังนั้นผู้แปรรูปโลหะแผ่นจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเสมอ และสามารถวางแผนได้ดีขึ้น มีการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการโดยอ้อมให้ ผู้ดำเนินการโรงงานดิจิทัลผลิตได้เร็วและยืดหยุ่นขึ้น อีกทั้งยังสามารถจัดการกระบวนการของคุณได้ดีขึ้นอีกด้วย ข้อได้เปรียบที่เห็นชัด โดยเฉพาะสำหรับปริมาณการผลิตต่อล็อตที่มีขนาดเล็กกว่า พื้นฐานการสื่อสารสำหรับโรงงานอัจฉริยะสร้างอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือ Internet of Things (IoT) ขึ้นมา เนื่องจากทุกอย่างใน "อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง" มีการเชื่อมต่อสื่อสารกันทั้งหมด โดยผลิตภัณฑ์จะส่งข้อมูลที่จำเป็นในการผลิตไปยังโรงงานอัจฉริยะ

ลูกค้าของโรงงานอัจฉริยะจะได้รับโซลูชันที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับลูกค้าในสามขั้นตอนซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ตั้งแต่การเริ่มต้นที่ง่ายดาย การปรับทีละขั้นตอน ไปจนถึงการเชื่อมต่อเครือข่ายอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เป้าหมายของเส้นทางสู่โรงงานอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสมบูรณ์นั้นชัดเจนเสมอ นั่นคือ การทำให้กระบวนการโดยรวมที่โปร่งใสขึ้น ยืดหยุ่นขึ้น และเหนือสิ่งอื่นใดคือประหยัดมากขึ้น
ศักยภาพของอุตสาหกรรม 4.0: เครื่องจักรสื่อสารกันอย่างไรในโรงงานอัจฉริยะ
