ความท้าทาย
toolcraft ทำงานร่วมกับสถาบันสำหรับเทคโนโลยีเลเซอร์ (ILT) ใน Aachen อย่างใกล้ชิด สาเหตุก็คือทันทีที่เทคโนโลยีที่มีแนวโน้มว่าจะออกจากห้องปฏิบัติการวิจัย Christoph Hauck กรรมการผู้จัดการด้านเทคโนโลยีและฝ่ายขายของ toolcraft AG จะได้เตรียมพร้อมเพื่อนำเทคโนโลยีนั้นไปใช้ในการผลิตประจำวัน การขึ้นรูปชิ้นงานโลหะด้วยการเติมเนื้อวัสดุก็ถูกนำมาใช้ในการผลิตปี 2011 ด้วยวิธีดังกล่าวเช่นเดียวกัน รวมถึงวิธีที่คล้ายคลึงกันอย่างการขึ้นรูปชิ้นงานโลหะด้วยเลเซอร์ (LMD) ที่่ถูกนำมาใช้ในปี 2019 นักวิจัยของ ILT ทำให้ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงหันมาสนใจในความเชี่ยวชาญของ toolcraft พวกเขาแนะนำว่า "ผู้คนที่นี่เต็มไปด้วยวิสัยทัศน์" การใช้งานของลูกค้าก็เป็นแบบที่ Christoph Hauck คาดหวังไว้กับการขึ้นรูปชิ้นงานโลหะด้วยเลเซอร์ เครื่องมือที่มีชั้นการทำงานที่ก่อนหน้านี้สร้างโครงสร้างโดยวิธีการกัดจะผลิตขึ้นอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนมากขึ้นเมื่อใช้วิธีการขึ้นรูปชิ้นงานโลหะด้วยเลเซอร์ แนวคิดคือตัวฐานทำจากวัสดุที่ราคาย่อมเยาและสร้างโครงสร้างโดยการขึ้นรูปชิ้นงานโลหะด้วยเลเซอร์ ในขณะเดียวกันก็มีข้อดีตรงที่ว่าเครื่องมือนี้สามารถซ่อมแซมได้อย่างง่ายดายหากโครงสร้างสึกหรอ แม้ว่าคุณ Hauck จะไม่ได้รับคำสั่งซื้อเครื่องมือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แต่เขาก็เต็มใจรับความเสี่ยงไว้และมอบหมายให้ TRUMPF ออกแบบเครื่องจักรพิเศษ โดยเครื่องจักรดังกล่าวต้องไม่ใช่แค่ผลิตเครื่องมือได้อย่างเดียว แต่ต้องสามารถทำทุกอย่างที่เกี่ยวกับการขึ้นรูปชิ้นงานโลหะด้วยเลเซอร์ได้ ตั้งแต่การพัฒนาพารามิเตอร์กระบวนการ การทดสอบวัสดุ ไปจนถึงการวัดคุณภาพ และวัดการสึกหรอ