การเลือกประเทศ/ภูมิภาค และภาษา
งานเชื่อมบัสบาร์เซลล์แบตเตอรี่ของ TRUMPF

ความท้าทายคือการผลิตแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนประสิทธิภาพสูงสำหรับการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ทั้งประหยัดและมีความน่าเชื่อถือของกระบวนการ

ปัจจุบันมีการนำแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนที่ใช้อิเล็กโทรไลต์มาใช้ในการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าเกือบจะทั้งหมด โดยยังไม่มีความจำเป็นทางอุตสาหกรรมใดๆ ที่จะต้องนำองค์ประกอบอื่นๆ อย่างเช่นแบตเตอรี่โซลิดสเตทหรือส่วนประกอบทางเคมีอื่นๆ มาใช้

การผลิตแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและซับซ้อนมาก ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนวัสดุและพลังงานอยู่ในระดับที่สูง ดังนั้นกระบวนการผลิตจึงต้องดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยผลิตได้จำนวนมากและมีของเสียน้อยที่สุด เป้าหมายสูงสุดของอุตสาหกรรมแบตเตอรี่คือมีความหนาแน่นของพลังงานต่อมวลสูง (วัตต์ชั่วโมง/กก.) และมีไมล์สูง (ช่วงที่จะไปถึงของรถยนต์) ซึ่งสะท้อนถึงช่วงที่จะไปถึงของรถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือการพัฒนาและการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ที่สอดคล้องกับความต้องการขั้นสูงของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งในด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และอายุการใช้งาน ซึ่งในแง่ของความน่าเชื่อถือของกระบวนการ ความแม่น และประสิทธิภาพถือว่าเครื่องมือเลเซอร์นั้นมีข้อดีที่ไม่มีใครเทียบได้

ขอคำปรึกษา

ประเภทเซลล์ต่างกัน แต่ใช้งานเหมือนกัน

ในการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า มีการนำแบตเตอรี่ชนิดทิเทียมไอออนมาใช้ถึงสามประเภทหรือรูปแบบ โดยพื้นฐานแล้ว ทุกประเภทนั้นมีหลักการทำงานที่คล้ายกัน โดยสิ่งที่แตกต่างกันหลักๆ นั้นอยู่ที่การออกแบบ ข้อกำหนด และวัสดุที่ใช้

เซลล์ถุง

ข้อดีของเซลล์ถุงคือสามารถเลือก รูปทรงเรขาคณิตได้เกือบจะอิสระและสามารถปรับขนาดได้ง่าย เซลล์ในลักษณะนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เซลล์ถุงกาแฟ" และสามารถผลิตได้ง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ประเภทอื่น อย่างไรก็ตามอาจจำเป็นต้องใช้ความพยายามที่มากขึ้นในระดับโมดูลเพื่อการทำงานที่ปลอดภัย โครงสร้างเซลล์ที่พบมากเป็นอันดับสองในการผลิตรถยนต์มีลักษณะการถ่ายเทความร้อนที่ดีรวมถึงมีการจัดการพลังงานที่เรียบง่าย ซึ่งเกิดขึ้นโดยการจัดวางตำแหน่งของตัวนำไฟฟ้าของเซลล์และชั้นอิเล็กโทรดอย่างอิสระ (วางแอโนดบนแคโทด โดยคั่นด้วยตัวคั่น)

แบตเตอรี่เซลล์ชนิดแท่งปริซึม งานด้านยานยนต์ของ TRUMPF
เซลล์ลักษณะเป็นแท่งปริซึม

เซลล์ลักษณะเป็นแท่งปริซึมมักประกอบด้วยแอโนดที่วางซ้อนกันและชุดแคโทด ซึ่งเรียกกันว่าแผงเซลล์ (Cell Stack) เนื่องจากรูปแบบตัวเรือนโลหะแบบแข็งแกร่ง จึงทำให้เกิดข้อได้เปรียบด้านการประหยัดพื้นที่ในขณะบรรจุเซลล์ลงในโมดูลโดยเฉพาะ การผลิตตัวเรือนของเซลล์ลักษณะเป็นแท่งปริซึมนั้นถือว่ามีความซับซ้อนที่มากกว่า แต่กลับมีความปลอดภัยและความหนาแน่นของพลังงานในระดับโมดูลสูง เซลล์ลักษณะเป็นแท่งปริซึมมีการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความหนาแน่นของพลังงานและความปลอดภัยโดยมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงส่งผลให้เซลล์ลักษณะนี้เป็นรูปแบบเซลล์ที่พบมากที่สุดในรถยนต์ไฟฟ้าปัจจุบัน

เซลล์แบตเตอรี่ทรงกระบอก งานด้านยานยนต์ของ TRUMPF
เซลล์ทรงกระบอก

เซลล์ทรงกระบอก คือเทคโนโลยีในการผลิตแบตเตอรี่ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ในการผลิตรถยนต์มักมีการใช้ประเภท 21700 เนื่องจากโครงสร้างของเซลล์ประเภทนี้ ปริมาณการชาร์จสูงสุดจึงถูกจำกัด ซึ่งหมายความจำเป็นต้องใช้เซลล์จำนวนมากเพื่อให้ได้กำลังที่สูง ในทางตรงกันข้ามกับ เซลล์ลักษณะเป็นแท่งปริซึมที่ซ้อนกันหรือเซลล์ถุงส่วนใหญ่ เซลล์ทรงกระบอกนั้นจะประกอบด้วยแอโนดและแคโทดอย่างละขั้ว ซึ่งจะพันเป็นม้วนทรงกระบอกแยกและคั่นโดยใช้ตัวคั่น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเซลล์ลักษณะนี้มีโครงสร้างแบบกลมจึงทำให้สูญเสียพื้นที่ไปมาก

มีการนำเลเซอร์ไปใช้ในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ที่บริเวณไหน

การใช้งานหลักที่เลือกภายในห่วงโซ่กระบวนการอย่างเช่นเซลล์ลักษณะเป็นแท่งปริซึม

การเชื่อมบัสบาร์

การเชื่อมเซลล์เดียวเข้ากับโมดูลหรือแพ็คสามารถดำเนินการได้โดยการเชื่อมบัสบาร์ เราจะเรียกจุดรวมของวงจรจำนวนมากกันว่า "บัสบาร์" เซลล์ลักษณะเป็นแท่งปริซึมหรือโมดูลเซลล์สามารถเชื่อมต่อกับวัสดุประเภทเดียวกัน (Al/Al หรือ Cu/Cu) และยังเชื่อมต่อกับวัสดุคนละประเภท (เช่น Al/Cu) ได้อีกด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญคือการเชื่อมต่อจะต้องมีความแข็งแรงทางกล เนื่องจากในรถยนต์มีการสั่นสะเทือนและความร้อน ในขณะเดียวกันการเชื่อมต่อไฟฟ้าที่มีแรงต้านทานต่ำสุดนั้นต้องได้รับการป้องกันอย่างคงที่ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ควรระวังให้เกิดกระจายของโลหะน้อยที่สุดระหว่างกระบวนการเชื่อม นอกจากนี้ความสามารถในการทำซ้ำ ปริมาณความร้อนที่เข้าสู่ชิ้นงาน (Heat Input) ที่น้อยที่สุด รวมถึงความลึกในการเชื่อมที่กำหนดก็ถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

การตัดฟิล์มแบตเตอรี่

สำหรับการตัดฟิล์มแบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยขอบเขตการใช้งานสองส่วน ส่วนแรกคือ "การตัดแยกฟิล์ม" ซึ่งคือการตัดตามแนวยาวอย่างต่อเนื่อง หรือการแบ่งเหล็กม้วนใหญ่ (ฟิล์มอิเล็กโทรดที่เคลือบผิวทั้งสองฝั่งหรือฝั่งเดียว) โดยเหล็กม้วนใหญ่จะถูกตัดแบ่งออกเป็นส่วนย่อยหลายๆ ส่วน (ชิ้นส่วนย่อย) โดยเลเซอร์จะยังอยู่ในตำแหน่งคงที่ ซึ่งฟิล์มจะเลื่อนผ่านลำแสงเลเซอร์อย่างต่อเนื่องแบบม้วนต่อม้วน

ขอบเขตการใช้งานอย่างที่สองคือการตัดขอบฟิล์มอิเล็กโทรดที่เคลือบผิว ในขั้นตอนนี้อิเล็กโทรด (แอโนด/แคโทด) จะถูกตัดออกจากเหล็กม้วนตามรูปร่างหรือจำนวนที่ต้องการ เมื่อใช้เลเซอร์ร่วมกับออปติกส์แบบสแกนเนอร์และแกนเคลื่อนที่หรือเลเซอร์อื่นๆ เพื่อขยายช่องสแกน จะสามารถตัดฟิล์มอิเล็กโทรดให้เป็นรูปร่างที่ต้องการได้ ความเร็วในการตัดขอบอยู่ที่ 1 เมตร/วินาที โดยความหนาของฟิล์ม (ฟิล์มและผิวที่เคลือบด้วยวัสดุทำปฎิกิริยาทั้งสองฝั่ง) อยู่ระหว่าง 100 และ 250 ไมโครเมตร สำหรับการใช้งานทั้งสองส่วน ในแง่ของความเร็วในการตัด โซนที่ได้รับผลกระทบจากความร้อน การเกิดครีบ รวมถึงการสร้างอนุภาคหรือการกระจายโลหะ เลเซอร์ของ TRUMPF ล้วนสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ผลิตแบตเตอรี่ในได้ระดับสูง

การทำแห้งฟิล์มแบตเตอรี่

หลังจากกระบวนการเคลือบ วัสดุทำปฏิกิริยาบนฟิล์มอิเล็กโทรดจะต้องแห้ง ระบบทำความร้อน VCSEL เชิงอุตสาหกรรมสามารถจัดการขั้นตอนนี้ต่อได้ เนื่องจากแหล่งกำเนิดลำแสงเลเซอร์ที่ใช้อาร์เรย์ VCSEL สามารถให้ความร้อนในพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยการแผ่รังสีอินฟราเรดแบบเลือกความยาวคลื่นเป็นเส้นตรงได้อย่างรวดเร็วและกำหนดได้ เนื่องจากมีการลดพื้นที่การทำแห้งลง (Drying Section) พื้นที่การวางเตาตบแห้งจึงลดลงอย่างมาก นอกจากนี้โซลูชันยังช่วยเพิ่มความเร็วของกระบวนการรวมถึงประหยัดต้นทุนและพลังงานอีกด้วย

การเชื่อมฟิล์มแบตเตอรี่

ฟิล์มอิเล็กโทรดคือฟิล์มอะลูมิเนียมและทองแดงที่บางมาก (หนา 6-14 โมโครเมตร) ซึ่งทำหน้าที่เป็นฟิล์มตัวนำ (Carrier Film) สำหรับวัสดุทำปฏิกิริยาเป็นแอโนดและแคโทด ฟิล์มจะถูกเชื่อมเข้าด้วยกันเป็นชั้นหรือเป็นม้วนบนพื้นผิวสัมผัสตามลำดับ (30-60 ชั้น) เพื่อสร้างเป็นแอโนดและแคโทด เลเซอร์ของเรารับประกันถึงการเข้าถึงชิ้นงานได้จากด้านเดียว ซึ่งสามารถเชื่อมชั้นที่มีฟิล์มมากกว่า 60 ชั้นได้อย่างน่าเชื่อถือและมีการกระจายของโลหะน้อยที่สุด

การเชื่อมปลอกและฝาปิด

เลเซอร์ของ TRUMPF ผนึกตัวเรือนแบตเตอรี่ลักษณะเป็นแท่งปริซึม (ปลอก) ที่ติดตั้งชุดอิเล็กโทรดไว้ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีตัวเรือนแบตเตอรี่แบบขึ้นรูปลึก (ความหนาของผนังอยู่ที่ 0.6 - 0.8 มม.) พร้อมกับฝาปิดตัวเรือน (ฝาปิด) ซึ่งมีความหนาแน่นปานกลางที่ 1.0 - 1.8 มม. โดยไม่มีรูพรุน รอยฉีกขาด หรือรอยต่อที่ไม่ต้องการ กระบวนการเชื่อมที่มาพร้อมกับออปส์ติกคงที่แบบใช้แกนนำทางที่มีความเร็วในการเชื่อมอยู่ที่ 12 ม./นาทีคือความเทคนิคล้ำสมัยอย่างแท้จริง เทคโนโลยี BrightLineWeld ของ TRUMPF ยังรับประกันถึงการเชื่อมที่มีการกระจายโลหะน้อยและความเสถียรของกระบวนการที่อยู่ในระดับสูงสุดอีกด้วย และเมื่อใช้ออปติกส์แบบสแกนเนอร์ PFO และระบบเซ็นเซอร์ร่วมกันจะถือได้ว่าเป็นโซลูชันที่มีไดนามิกสูงโดยสามารถเชื่อมโดยมีความเร็วอยู่ที่ 25 ม./นาที

ตัวเรือนโมดูล

โมดูลแบตเตอรี่ประกอบด้วยเซลล์แบตเตอรี่ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนหลายเซลล์เพื่อสร้างชุดต้นกำลังในตัวเรือนโมดูล ตัวเรือนโมดูลทำหน้าที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบเซลล์ที่ใช้ด้วยเช่นกัน โดยปกติจะมีการนำโลหะผสมอะลูมิเนียมและสแตนเลสมาใช้ในส่วนนี้ ซึ่งวัสดุที่กล่าวมานั้นมีความแข็งแรงต่อแรงดึงในระดับปานกลางถึงสูง และเลเซอร์ IR กำลังสูงของเราก็เชื่อมวัสดุเหล่านี้ได้ด้วยความแข็งแรงสูงสุดโดยไม่มีรอยฉีกขาดและไม่มีการบิดเบี้ยว

การทำความสะอาดและทำโครงสร้างด้วยเลเซอร์

มีการประยุกต์ใช้เลเซอร์ในการทำความสะอาดและทำโครงสร้างมากมายสำหรับเซลล์แบตเตอรี่และโมดูลแบตเตอรี่ โดยจะเริ่มตั้งแต่ชั้นอิเล็กโทรดซึ่งจะกำจัดหรือทำโครงสร้างวัสดุทำปฏิกิริยาบางส่วน และจบลงที่ตัวเรือนเซลล์และโมดูลของแบตเตอรี่ โดยจะทำให้พื้นผิวบริเวณนั้นหยาบหรือกำจัดน้ำยาเคลือบเงา คราบกรด และชั้นออกไซด์ออกเพื่อการยึดเกาะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับเลเซอร์พัลส์สั้นและเลเซอร์พัลส์สั้นมากของมาใช้ในขั้นตอนนี้

การสร้างสัญลักษณ์ชิ้นส่วนด้วยเลเซอร์

การทำสัญลักษณ์ด้วยเลเซอร์ของ TRUMPF สร้างเครื่องหมายที่เซลล์แบตเตอรี่ที่บอบบางรวมถึงตัวเรือนได้อย่างแม่นยำและไร้การสัมผัส ตัวอย่างเช่น การทำสัญลักษณ์สีดำแบบถาวรที่ส่วนประกอบทั้งหมดโดยมีความคมชัดสูงสุดและสามารถอ่านได้ง่ายดายโดยมีความทนต่อการกัดกร่อนในระดับสูงมาก ซึ่งอายุการใช้งานที่ยาวนานนี้คือข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับและการบันทึกข้อมูลของชิ้นส่วนที่จำเป็นตามข้อกำหนดกฎหมาย

การประยุกต์ใช้การเชื่อมอื่นๆ ในเซลล์แบตเตอรี่
  • การเชื่อมขั้วต่อแบบนิ่ม (Soft Connector)
  • การเชื่อมพินปิดผนึก (Seal Pin)
  • การเชื่อมแผ่นแตกนิรภัย (Burst Plate)
  • การเชื่อมขั้วต่อสาย
  • การเชื่อมแท็บของเซลล์ถุง
  • การเชื่อมปลอกและฝาบิดเบื้องต้น (Pre-Welding)
  • การเชื่อมเซ็นเซอร์สถานะการชาร์จ
  • การเชื่อมขั้วต่อ Cu-Al

การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า - ร่วมรับมือกับความท้าทายของการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า

คุณต้องการทราบวิธีที่ดีที่สุดที่เราสนับสนุนการผลิตของคุณในเส้นทางของเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าหรือไม่ รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของเราในฐานะซัพพลายเออร์เทคโนโลยีสำหรับ OEM, TIER, ผู้ผลิตเซลล์ และผู้รวมระบบ นอกจากนี้เรายังเป็นพันธมิตรของโครงการวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ซึ่งเราได้ร่วมกันพัฒนาโซลูชันเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับการผลิตแบตเตอรี่อีกด้วย

TRUMPF ในฐานะพันธมิตรของคุณ

ไม่ว่าจะเป็นเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นสีเขียวสำหรับเชื่อมวัสดุ Cu, การขึ้นรูปด้วยแสง (BrightLine Weld) สำหรับการเชื่อมอะลูมิเนียมและทองแดงที่ไม่มีการกระจายของโลหะและรูพรุน หรือระบบเซ็นเซอร์พิเศษสำหรับการรับประกันคุณภาพและการตรวจสอบกระบวนการ TRUMPF ก็มีโซลูชันการผลิตนวัตกรรมใหม่จำนวนมากสำหรับการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ของคุณ โดยคุณจะได้รับประโยชน์จากแพ็คเพจเทคโนโลยีของเราที่มาพร้อมกับตัวเลือกแหล่งกำเนิดลำแสงเลเซอร์ ออปติกส์ ระบบเซ็นเซอร์ และความเชี่ยวชาญในการใช้งานมากมาย

กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับการผลิตแบตเตอรี่

เทคโนโลยี BrighLine Weld ของ TRUMPF คือกุญแจสำคัญในการเชื่อมบัสบาร์ ขั้วต่อแบบนิ่ม ปลอกและฝาปิด หรือตัวเรือนโมดูลด้วยเลเซอร์ IR กำลังสูงโดยมีการกระจายโลหะน้อย นอกจากนี้เลเซอร์ TruDisk ของเราที่มาพร้อมกับความยาวคลื่นสีเขียวยังเหมาะกับวัสดุสะท้อนแสงสูงอย่างเช่นทองแดง โดยมีคลื่นต่อเนื่องได้สูงถึง 2 กิโลวัตต์หรือแบบมีพัลส์ในระดับกำลังปานกลางได้ถึง 400 วัตต์ ซึ่งวิธีดังกล่าวจะช่วยสามารถเชื่อมลึกตามที่กำหนดได้อย่างคงที่ อีกทั้งยังรับประกันถึงกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้อีกด้วย นอกจากนี้คุณยังได้รับประโยชน์จากความร้อนที่เข้าสู่ชิ้นงานเพียงเล็กน้อยในขณะที่เชื่อมด้วยการนำความร้อนอีกด้วย ระบบเซ็นเซอร์ของเรา (VisionLine OCT และการตรวจสอบความลึกในการเชื่อม) ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษสำหรับการผลิตแบบอัตโนมัติและมีประสิทธิผลสูง คุณจึงสามารถไว้วางใจได้ว่าจะสามารถตรวจสอบย้อนกลับและบันทึกข้อมูลได้อย่างครบถ้วนเสมอ

ระบบที่มีประสิทธิภาพและกำลังสูงสำหรับลูกค้าของเรา

การออกแบบเลเซอร์สำหรับเครื่อง TruDisk ของเราช่วยให้สามารถใช้เลเซอร์ในการแบ่งเวลาและการดำเนินการที่ซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากมีเอาต์พุตเลซอร์ (Laser Output) จำนวนหลายช่องต่อเลเซอร์ นอกจากนี้ระบบควบคุมกำลังของเลเซอร์ยังช่วยให้คุณได้รับกำลังของเลเซอร์ที่คงที่อย่างสม่ำเสมอบนชิ้นงานอีกด้วย

TRUMPF ในฐานะผู้รับประกันด้านนวัตกรรม

เรามองตัวเองว่าเป็นที่ปรึกษาด้านใช้งานและผู้ที่ทำให้เกิดโอกาสในการผลิตใหม่ๆ ของคุณ โดยคุณจะได้รับประโยชน์จากความรู้ในอุตสาหกรรมขั้นสูงรวมถึงประสบการณ์นานหลายทศวรรษของเราในฐานะผู้บุกเบิกด้านเลเซอร์

มีสาขาอยู่ทั่วโลกและลงพื้นที่ทำงานได้

รับประโยชน์จากการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายบริการทั่วโลกของเรา ไม่ว่าคุณจะต้องการพัฒนาการใช้งานหรือบริการ เราจะรอคุณอยู่ตรงนี้เสมอ ตัวอย่างเช่นในบริการ Condition Monitoring Service ผู้เชี่ยวชาญและอัลกอริทึมของ TRUMPF จะตรวจสอบเลเซอร์ของคุณเพื่อคาดคะเนอัตราการเสื่อมของเครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายการผลิตขนาดใหญ่ที่ละเอียดอ่อน

ศูนย์การใช้งานเลเซอร์ของ TRUMPF ในเมืองดิทซิงเงน

ศูนย์การใช้งานเลเซอร์ของ TRUMPF ในเมืองดิทซิงเงน

กิจกรรมต่างๆ ที่คุ้มค่าหากมาเยี่ยมชม

ด้วยพื้นที่กว่า 4,000 ตารางเมตร จึงส่งผลให้ศูนย์การใช้งานเลเซอร์ของ TRUMPF ในเมืองดิทซิงเงนกลายเป็นหนึ่งในศูนย์การใช้งานเลเซอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้งานและผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมจะสนับสนุนคุณในการพัฒนาและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานโดยอ้างอิงจากชิ้นส่วนที่เป็นรูปธรรมของคุณด้วยการใช้งานกลุ่มระบบการทำงานของเลเซอร์ที่ทั้งหลากหลายและครอบคลุมของเรา

คุณอาจสนใจเนื้อหาเหล่านี้เช่นกัน

ตัวเลือกการเชื่อมด้วยเลเซอร์ brightlineweld ของ TRUMPF
Spritzerfreies Laserschweißen mit Strahlformungstechnologie BrightLine Weld

Mit der patentierten TRUMPF Technologie BrightLine Weld können Sie Materialien wie Baustahl, Edelstahl oder sogar Kupfer und Aluminium fast ohne Spritzer schweißen.

เชื่อมทองแดง

ด้วย เครื่องมือเลเซอร์ที่ปราศจากการสัมผัสทำให้การเชื่อมต่อทองแดงที่มีความคงทนสูงนั้นเป็นไปได้ ซึ่งสามารถทำซ้ำได้อย่างตรงจุดและมีค่าการนำไฟฟ้าสูง

การติดต่อ
การจัดการอุตสาหกรรม
อีเมล
การบริการและการติดต่อ